วันอังคารที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559


อาชีพพนักงานบัญชี Accountants


นิยามอาชีพ
ผู้ปฏิบัติงานพนักงานบัญชี-Accountants ทำงานเกี่ยวกับการเก็บรวบรวมรายการรายรับ และรายจ่ายของหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน จัดทำเป็นรายงานตามระบบ และระเบียบของการทำบัญชี จัดทำบัญชีด้วยตนเองหรือร่วมทำงานกับผู้อื่น กำกับดูแลการทำงานบัญชีของเจ้าหน้าที่ ตรวจสอบความถูกต้อง และนำเสนอผู้มีหน้าที่ความรับผิดชอบตามลำดับ อาจทำงบดุลประจำปี อาจทำหน้าที่ในการรับ และการจ่ายเงินตามที่ได้รับมอบหมาย
ลักษณะของงานที่ทำ
พนักงานบัญชี ทำงานบันทึกข้อมูลการเงินขององค์การอย่างสมบูรณ์ตามระบบของการบัญชี และเป็นระเบียบแบบแผน เช่น บัญชีรายรับ หรือบัญชีรายจ่าย เป็นต้น ตรวจสอบความถูกต้องของเอกสาร และบันทึกเกี่ยวกับการจ่ายเงิน การรับเงินและธุรกิจการเงินอื่นๆ และลงบัญชีแยกประเภทตรวจสอบการลงบัญชี ทำการคำนวณ และรวมยอดเงินเท่าที่จำเป็น 
ทำงบดุล และรวบรวมรายงานการเงินตามระยะเวลาที่กำหนดเป็นประจำ เพื่อแสดงรายรับรายจ่าย บัญชีรายรับและรายจ่าย กำไรหรือขาดทุน และเรื่องราวเกี่ยวกับการเงินอื่นๆ ซึ่งเกี่ยวข้องกับธุรกิจที่กำลังดำเนินงานอยู่ คำนวณและจ่ายเงินค่าจ้าง ทำรายงานแสดงฐานะทางการเงิน ทำรายงานแสดงฐานะทางการบัญชีให้แก่ลูกค้า และปฏิบัติงานต่างๆ เกี่ยวกับการทำบัญชีทำบันทึกการเงินโดยใช้ เครื่องทำบัญชี ตรวจสอบการลงบัญชี ี้ 
รวบรวมรายงานเสนอตามระยะที่กำหนดเป็นประจำ ปิดงบการเงินประจำเดือน ทำหน้าที่ให้บริการทางการบัญชีแก่สถานประกอบการธุรกิจ บุคคล สถาบันเอกชน หรือหน่วยงานรัฐบาล รวมถึงการควบคุมดูแลการทำบัญชี และการตรวจสอบบัญชี การตรวจสอบ การรับรองความถูกต้อง และความครบถ้วนในการทำบัญชีและเอกสารทางการเงิน ตรวจสอบเอกสารการเบิกจ่าย จัดเตรียมงบทดลอง บันทึกรายการรับจ่ายประจำวัน 
จัดทำรายงานภาษีมูลค่าเพิ่มซื้อ และขายพร้อมทั้งเอกสารประกอบเพื่อนำเสนอกรมสรรพากร ทุกเดือน จัดทำรายงานภาษีเงินได้ของบริษัทเพื่อนำเสนอกรมสรรพากรทุกสิ้นปี
คุณสมบัติของผู้ประกอบอาชีพ
ผู้ประกอบพนักงานบัญชี-Accountantsต้องมีคุณสมบัติดังนี้ 
- ต้องมีคุณวุฒิไม่ต่ำกว่าอนุปริญญาหรือประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ทางการบัญชี หรือเทียบเท่า หรือมีคุณวุฒิปริญญาตรีทางการบัญชี บริหารธุรกิจ หรือเทียบเท่าจากสถาบันการศึกษาซึ่งทบวงมหาวิทยาลัยรับรอง 
- มีความซื่อสัตย์ในหน้าที่เนื่องจากทำงานเกี่ยวกับการเงิน 
- มีความรับผิดชอบต่อวิชาชีพ ในการนำเสนอข้อมูลทางบัญชีที่เชื่อถือได้ถูกต้องรวดเร็ว และ มีประโยชน์อย่างแท้จริงในการตัดสินใจ - มีความรอบคอบ วิจารณญาณ เพื่อพิจารณาหาหลักปฏิบัติที่เหมาะสม และส่งผลกระทบ ในด้านลบให้น้อยที่สุดแก่หน่วยงานหรือองค์กรที่เกี่ยวข้อง 
- รับผิดชอบในการพัฒนาตนเอง และให้ความร่วมมือในการพัฒนาวิชาชีพ และสังคม 
- สามารถใช้คอมพิวเตอร์ มีประสบการณ์ในด้านโปรแกรม software บัญชี มีความรู้ภาษาอังกฤษ ตามสมควร มีความรู้ระบบภาษีของไทย 

   

             ก่อนที่เราจะประกอบอาชีพพนักงานบัญชีได้นั้นเราต้องมีคุณวุฒิปริญญาตรีทางการบัญชี หรือคณะบัญชีนั้นเอง คณะบัญชีมีการเปิดสอนเกือบทุกมหาวิทยาลัยเลยก็ว่าได้ วันนี้เราจะมาศึกษากันว่าหลักสูตรบัญชีบัณฑิต ของมหาวิทยาลัยรามคำเเหงมีอะไรกันบ้าง
ชื่อหลักสูตร : หลักสูตรบัญชีบัณฑิต (Bachelor of Accountancy Program)
หน่วยงานที่รับผิดชอบ : คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรามคำเเหง
โครงสร้างหลักสูตร ทั้งหมด 133 หน่วยกิจ ประกอบด้วย
๑. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป จํานวน ๓๑ หน่วยกิต
 - ENG 1001 (EN 101) ประโยคภาษาอังกฤษพื้นฐานและศัพท์จําเป็นในชีวิตประจําวัน
- ENG 1002 (EN 102) ประโยคภาษาอังกฤษและศัพท์ทั่วไป
- ENG 2001 (EN 201) การอ่านเอาความภาษาอังกฤษ
- ENG 2002 (EN 202) การตีความภาษาอังกฤษ
- HIS 1003 (HI 103) อารยธรรมโลก
- HPR 1001 (PE 101) กีฬาเพ ื่ อสุขภาพ
- INT 1004 (IT 104) ความรู้เบ ื้ องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ธุรกิจ
- MTH 1103 (MA 113) แคลคูลัสสําหรบธุรกิจ ๑
- PSY 1001 (PC 103) จิตวิทยาทั่วไป
- POL 1101 (PS 110) การเมืองการปกครองของไทย
- RAM 1000 (RU 100) ความรู้คู่คุณธรรม
- THA 1003 (TH 103) การเตรียมเพื่อการพูดและการเขียน
๒. หมวดวิชาแกนทางธุรกิจ จํานวน ๓๙ หน่วยกิต 
- ACC 1101 (AC 101) การบัญชีขั้นต้น ๑
- ACC 1102 (AC 102) การบัญชีขั้นต้น ๒
- ECO 1101 (EC 111) เศรษฐศาสตร์จุลภาค ๑
- ECO 1102 (EC 112) เศรษฐศาสตรมหภาค ์ ๑
- ENS 3202 (EN 321) ภาษาอังกฤษที่ใช้ในสํานักงาน
- FIN 2101 (MB 203) การเงินธุรกิจ
- LAW 3015 (LW 317) กฎหมายธุรกิจ ๒
- MGT 2101 (GM 203) หลักการจัดการธุรกิจ
- MGT 2102 (GM 303) การจัดการดําเนินงานและโซ่อุปทาน
- MGT 3101 (GM 419) การจัดการเชิงกลยุทธ์
- MGT 3102 (GM 306) การภาษีอากร
- MKT 2101 (MK 203) หลักการตลาด
- STA 2016 (ST 206) สถิติธุรกิจและการวิเคราะห์เชิงปริมาณ
๓. หมวดวิชาเอกเฉพาะสาขา ๓.๑ หมวดวิชาเอกบังคับ จํานวน ๕๑ หน่วยกิต
- ACC 2201 (AC 201) การบัญชีขั้นกลาง ๑
- ACC 2202 (AC 202) การบัญชีขั้นกลาง ๒
- ACC 3200 (AC 300) การบัญชีขั้นสูง ๑
- ACC 3205 (AC 305) การบัญชีภาษีอากร
- ACC 3211 (AC 311) การบัญชีต้นทุน ๑
- ACC 3212 (AC 312) การบัญชีต้นทุน ๒
- ACC 3220 (AC 320) การสอบบัญชี
- ACC 4200 (AC 400) การบัญชีขั้นสูง ๒
- ACC 4203 (AC 403) ระบบสารสนเทศทางการบัญชี
- ACC 4209 (AC 409) รายงานทางการเงินและการวิเคราะห์
- ACC 4246 (AC 446) การตรวจสอบภายในและการควบคุมภายใน
- ACC 4252 (AC 452) สัมมนาการบญชีการเงิน
- FIN 3208 (MB 301) การบริหารการเงินธุรกิจ ๑
- FIN 3211 (MB 302) การบริหารการเงินธุรกิจ ๒
- FIN 3205 (MB 305) หลักและนโยบายการลงทุน
- FIN 2202 (MB 308) สถาบันการเงินและตลาดการเงิน
- FIN 4213 (MB 412) ตราสารอนุพันธ์และการจัดการ ความเสี่ยง
๓.๒ หมวดวิชาเอกเลือก – สาขาบัญชี (ไม่นับหน่วยกิจ)
 - ACC 3240 (AC 340) การใช้โปรแกรมบัญชีสําเร็จรูป 
๓.๓ หมวดวิชาเอกเลือก - สาขาการเงินและธนาคาร จํานวน ๖ หน่วยกิต
๔. หมวดวิชาเลือกเสรี จํานวน ๖ หน่วยกิต

สภาพการทำงาน
พนักงานบัญชีทำงานในสถานที่ทำงานที่มีสภาพการทำงานเป็นสำนักงานที่มีอุปกรณ์สิ่งอำนวยความสะดวกเช่นสำนักงานทั่วไป ในการทำงานจะต้องใช้เครื่องคิดเลขหรืออาจจะมีเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อใช้ช่วยงานบันทึกรายการ และการทำบัญชีในรูปต่างๆ
โอกาสในการมีงานทำ
ในการดำเนินธุรกิจส่วนใหญ่จะต้องมีพนักงานบัญชีทำงานด้านบัญชี ปัจจุบันการดำเนินธุรกิจได้เจริญก้าวหน้าและขยายตัวออกไปอย่างกว้างขวาง ดังนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่า อาชีพพนักงานบัญชียัง คงเป็นที่ต้องการทั้งในหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน หรือธุรกิจส่วนตัว 
ผู้สำเร็จการศึกษาทางด้านบัญชีสามารถที่จะประกอบอาชีพในหน่วยงานต่างๆ ได้หลายแห่งทั้งที่เป็นหน่วยงานของราชการ และเอกชน นอกจากนี้ยังสามารถที่จะรับงานบัญชีไปทำที่บ้านได้ และเมื่อพนักงานบัญชีทำงานจนมีความพร้อมและมีคุณสมบัติตามที่คณะกรรมการควบคุมการประกอบวิชาชีพสอบบัญชี (กบช.) กำหนดไว้ก็มีสิทธิที่จะสอบเป็นผู้ตรวจสอบบัญชีรับอนุญาตได้